EP.0 แนะนำตัวเซย์เก่ง

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ เซย์เก่ง podcast รายการที่จะนำสาระ ข้อคิดดีๆ จากประเทศญี่ปุ่น สู่คนไทย ผม เซย์เก่ง ชื่อเล่น เก่ง ชื่อจริงคือ สมชาย ลัดดา นักเรียนเรียกว่า เซย์เก่ง 

คำว่าเซย์ มากจากคำว่า เซนเซย์ เป็นภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ครูหรืออาจารย์ ดังนั้นครูที่สอนภาษาญี่ปุ่น นักเรียนก็จะเรียกว่า เซนเซย์ หรือเรียกแบบกันเองว่าเซย์….ตามด้วยชื่อครูคนนั้น ก็เลยเป็นที่มาของคำว่า เซย์เก่ง

เหตุผลที่ทำช่องเซย์เก่ง podcast มีวัตถุประสงค์ ไม่ใช่เพื่อการเรียนการสอนภาษาญี่ปุ่น แต่อยากจะมาแบ่งปันข้อคิดที่ได้รับ ที่ได้ยินได้ฟังเรื่องราวต่างๆ จากคนญี่ปุ่น ทั้งด้านวิธีคิด การพัฒนาตัวเอง การทำงาน ธุรกิจ สุขภาพ สังคม การใช้ชีวิตและอื่นๆ

ที่มาที่ไปก็คือว่า จากการที่ผมค้นคว้า วิจัย หาข้อมูลเกี่ยวกับภาษาญี่ปุ่นมาหลายปี เพื่อจะเตรียมเนื้อหามาสอนนักเรียน ผมกลับได้พบเจอ Content ที่เป็นประโยชน์มากมากมาย ที่เป็นภาษาญี่ปุ่นที่คนญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียง หรือคนดัง ได้พูดหรือได้เขียนเอาไว้ ไม่ว่าจะเป็นทาง youtube, podcast, รายการวิทยุ, บทความ  ซึ่ง content เหล่านี้ยังไม่ค่อยมีคนนำมาเผยแพร่เป็นภาษาไทยสักเท่าไหร่ 

ปัจจุบันผมเปิดเพจสอนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ ชื่อเพจ “เรียนภาษาญี่ปุ่นออนไลน์ By เซย์เก่ง”นร.ส่วนใหญ่ 90% ทำงานอยู่ที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งประสบปัญหาแบบเดียวกันคือสื่อสารภาษาญี่ปุ่นไม่ค่อยได้เนื่องจากเรียนไปน้อย พอไปหน้างานจริง ก็ฟังไม่ออกพูดไม่ได้ส่วนใหญ่เรียนที่ไทย 3-6 เดือน ให้ครบ 150 ชั่วโมง บริษัทนายหน้าหรือกรมแรงงานก็ส่งไปทำงานที่ญี่ปุ่นเลยจึงทำให้สื่สารภาษาญี่ปุ่น ไม่ได้เท่าที่ควร จึงทำให้มีคนอยากเรียนเสริมจำนวนมาก 

นักเรียนที่อยู่ญี่ปุ่นที่มาเรียนกับผม ส่วนใหญ่เป็นคนทำงาน เช่น เป็นเชฟ, ทำงานก่อสร้าง,ทำงานเกษตร, ทำร้านอาหาร, ร้านนวดไทย, พนักงานโรงงาน,แม่บ้านโรงแรม โปรแกรมเมอร์,นักออกแบบ,นักวาดการ์ตูน พนักร้านทำข้าวกล่อง,พนักโรงงานอาหารทะเล, แม่บ้านญี่ปุ่น, นักศึกษามหาลัย เป็นต้น เป็นอาชีพเฉพาะทางไปเสียส่วนใหญ่

หลายคนอยู่ญี่ปุ่นมานานแต่ก็ยังพูดไม่เก่ง บางคนอยู่มา 15 ปี 10 ปี 8 ปี 2-3 ปีก็มีนักเรียน ที่มาเรียนก็กระจายตัวอยู่ทั่วญี่ปุ่น เช่น โตเกียว, โยโกฮาม่า คานากาว่า, ไซตะมะ, ชิบะ, นางาโน ,ฮะมะมะสึ,โอซาก้า,ฮิโราชิมา,โอกะยะมะ,นาโกย่า,มิเอะ, ฮอกไกโด เป็นต้น

ประสบการณ์ด้านภาษาญี่ปุ่น ตั้งแต่เริ่มเรียนและอยู่ในวงการคนใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นอาชีพก็เกือบ 25 ปีแล้วสำเร็จหลังสูตร Kihon kenshuu พัฒนาพื้นฐานธุรกิจ จากสถาบัน Tayama Jissen College ที่เมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่นเป็นผู้ร่วมก่อตั้งมูลนิธีโรงแรียนทายามาเชียงใหม่ ดำรงตำแหน่งรองประธานมูลนิธิ บริหารโรงเรียน รวมทั้งเป็นครูผู้สอนด้วยเคยทำงานเป็นล่ามภาษาญี่ปุ่น 7 ปี ที่ บ.ฮอนด้าออโต้โมบิล (ประเทศไทย) จำกัด, บ.โฮย่ากลาสดิสค์ (ประเทศไทย) จำกัด 

 

 

ปัจจุบันทำงานเป็นอาสาสมัครให้กับองค์กรคริสเตียน ที่ทำงานเพื่อสังคมด้วยนะครับ

ช่วง 10 ปีที่ผ่านมานี้ผมสังเกตเห็นว่าหนังสือแปลที่มาจากต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นที่วางขายตามร้านขายหนังสือชั้นนำมีเพิ่มเยอะขึ้นนั่นแสดงว่ามีผู้บริโภคหรือคนไทยที่สนใจเกี่ยวกับญี่ปุ่นมีไม่น้อยที่เดียวทุกครั้งที่ผมอ่านหนังสือแปลญี่ปุ่นผมมักจะไปค้นหาเพิ่มเติม เช่นอ่านหนังสือเรื่อง คิดแบบยิวทำแบบญี่ปุ่น ผู้เขียนคือคุณ Honda Ken (ฮอนดะ เคนจากการที่เราอ่านภาษาญี่ปุ่นได้ ฟังภาษาญี่ปุ่นออก ผมก็ค้นเป็นภาษาญี่ปุ่น ก็ค้นพบ website, youtube และ padcast ของคุณ Honda Kenและได้ฟัง podcast ของ Honda Ken หลายๆ EP ซึ่งเขาพูดมามากกว่า 600 กว่า EP แล้ว ฟังแล้วก็อยากจะเอาแบ่งปันให้กับเพื่อนๆ คนไทยว่า แต่ละตอนเขาพูดเรื่องอะไรบ้าง?

หรือ หนังสือชื่อว่า THE POWER OF INPUT ศิลปะของการเลือก+รับ+รู้ ผู้เขียน.Shion Kabasawa (ชิออน คาบาซาวะท่านเป็นจิตแพทย์ชาวญี่ปุ่นที่มีผลงานมากมาย ผมก็ไปติดตามผลงานของทั้งใน blog ที่ท่านเขียนหรือ youtube ที่ท่านพูด ได้พบเจอข้อคิดที่เป็นประโยชน์มากมายเช่นกันซึ่งยังไม่มีใครนำมาพูดเป็นภาษาไทย ให้คนไทยได้ฟังเราอาจจะรูปจักคนญี่ปุ่นที่มีแนวคิดดีๆ ผ่านหนังสือแปล แต่จริงๆ แล้วมีคนญี่ปุ่นที่มีชื่อเสียงหรือเป็นผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ มากมายที่คนไทยไม่รู้จัก ไม่ได้นำเอาผลงานมาแปลหนังสือแปลจากญี่ปุ่นที่อยู่ในไทยส่วนตัวผมคิดว่า มีไม่ถึง 1% ของหนังสือดี หรือ ข้อมูลดีๆ จากคนญี่ปุ่นที่เขาวิจัยค้นคว้ากันมาด้วยซ้ำไปยิ่งไปกว่านั้นในยุคปัจจุบันโลกหมุนเร็วมาก มีเทคโนโลยี ที่เชื่อมข้อมูลได้แทบจะ realtime แล้ว ถ้าเรามัวแต่รออ่านหนังสือแปลข้อมูลบางอย่างก็ out ไปแล้วข้อมูลต่างๆ ที่ผมได้ฟัง version ภาษาญี่ปุ่นทุกวัน แทบจะเป็นข้อมูลใหม่ วันต่อวัน หรือ สัปดาห์ต่อสัปดาห์ก็ว่าได้ ไม่ใช่ข้อมูลข้ามปีนอกจากนี้

ระยะหลังๆ นี้ผมเข้าไปเล่น Clubhous บ่อย เข้าไปเปิดห้องสนทนากับเพื่อนที่ใช้ภาษาญี่ปุ่นด้วยกันก็ได้พบว่าคนที่พูดญี่ปุ่นได้มีอยู่เกือบทั่วโลกตอนนี้เราสามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นคุยกับชาวต่างชาติได้ ไม่ใช่แค่เพียงคนไทยแลคนญี่ปุ่นเท่านั้น แต่คุยได้กับคนทุกชาติที่พูดญีปุ่นได้ ผมเคยคุยกับคนต่างชาติที่พูดภาษาญี่ปุ่น ใน Clubhouseมากกว่า 15 ชาติแล้วเช่น ชาวญี่ปุ่นพม่าเวียดนาม,อินโดเนียเซีย,สิงค์โปร์,ฮ่องกง,จีน,ไต้หวันอินเดียเนปาลปากีสถาน,มองโกเลีย,ทีเบตเกาหลีไทย

ซึ่งผมเชื่อว่า มีคนหลากหลายชาติมากกว่านี้ที่สื่อสารเป็นญี่ปุ่นได้ ซึ่งเป็นข้อมูลจริง Realtime ที่เราพูดคุยและแชร์กันผมจึงเชื่อและหวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลที่ผมจะนำมาแบ่งปัน จากข้อคิด แนวคิดจากคนญี่ปุ่น จะเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนๆ คนไทยอย่างแน่นอนครับลองติดตามรับฟังกันดูนะครับ じゃまたね